คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ วทป 57/2560  

                                      บริษัทซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด                      โจทก์

                                      บริษัทคอสโก้ ชิปปิ้ง ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด                       จำเลย

 

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๗ (5), ๙

 

         โจทก์ฟ้องบังคับจําเลยในฐานะตัวแทนการขนส่งสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศ ให้คืนเงินค่ามัดจําตู้สินค้าที่โจทก์วางไว้ขณะนําสินค้าออกจากท่าเรือแหลมฉบังขนส่งต่อไปยังโรงงาน ของโจทก์รวม ๑๐ ครั้ง ส่วนจําเลยให้การต่อสู้ว่า เงื่อนไขข้อตกลงในใบตราส่งซึ่งเป็นหลักฐานแห่ง สัญญารับขนส่งสินค้าทางทะเลระบุว่าโจทก์ต้องนําใบมัดจําตู้สินค้ามาแสดงและขอรับเงินมัดจําคืน หลังจากจําเลยหักค่าซ่อมแซมตู้สินค้าภายในกําหนด ๓ เดือน นับแต่วันที่ระบุในใบมัดจําตู้ แต่โจทก์ ไม่ดําเนินการ จนล่วงพ้นกําหนดเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่ามัดจําตู้สินค้าพร้อมดอกเบี้ย ตามฟ้อง ดังนี้ ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดระหว่างโจทก์กับ จําเลยตามสัญญาขนส่งระหว่างประเทศ คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ
ตามบทบัญญัติ มาตรา ๗ (๕) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙

 

______________________________

 

         โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากผู้ขาย
ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย โดยผู้ขายนําสินค้าบรรทุกใส่ตู้สินค้า ของบริษัทเดินเรือระหว่างประเทศซึ่งมีจําเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลและเก็บรักษาตู้สินค้าในประเทศไทยจัดส่งสินค้ามาให้แก่โจทก์ทางเรือเมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือแหลมฉบัง อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โจทก์ไป ดําเนินการตามพิธีการศุลกากรด้วยการชําระอากรขาเข้าและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จนเสร็จสิ้น เพื่อนํา
ตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่สั่งซื้อดังกล่าวขนส่งต่อไปยังโรงงานของโจทก์ โดยโจทก์ต้องวางเงินมัดจําในการนํา
ตู้สินค้าออกจากท่าเรือแหลมฉบังให้แก่จําเลยรวม ๑๐ ครั้ง เป็นเงิน ๓๐๔,๐๐๐ บาท ซึ่งตามข้อตกลง
ในการขนส่งจําเลยต้องคืนเงินมัดจําตู้สินค้าให้แก่โจทก์ภายในกําหนด ๓ เดือน หลังจากโจทก์ส่งมอบตู้สินค้า คืนให้แก่จําเลยเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเมื่อโจทก์นําตู้สินค้าออกจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังโรงงานของโจทก์ ที่จังหวัดระยอง และขนถ่ายสินค้าที่บรรจุภายในตู้สินค้าออกไว้ภายในโรงงานโจทก์แล้วเสร็จในแต่ละครั้ง

โจทก์ได้ส่งมอบตู้สินค้าคืนให้แก่จําเลยในสภาพเรียบร้อยทุกครั้งไป แต่จําเลยกลับไม่คืนเงินค่ามัดจําตู้สินค้า ในแต่ละครั้งที่ได้รับไปจากโจทก์ตามข้อตกลง โจทก์ทวงถามแล้วแต่จําเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจําเลยชําระเงิน ๓๐๔,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์

         จําเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องเนื่องจากคดีนี้เป็นข้อพิพาทตามใบตราส่ง ๑๐ ฉบับ
ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนส่งสินค้าทางทะเล ที่กําาหนดเงื่อนไขข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการ รับตู้สินค้า การวางเงินมัดจํา การหักค่าซ่อมแซมตู้สินค้า การคืนสินค้าและเงินมัดจํา ระหว่างโจทก์ผู้รับตราส่ง

และจําเลยตัวแทนผู้รับขนสินค้า จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง อันอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามใบตราส่งและใบมัดจําภาชนะบรรจุสินค้า โจทก์ตกลงว่าโจทก์และหรือผู้ลากจะต้องรับผิดชอบหากตู้ซิล และสินค้าเสียหาย และจําเลยจะคืนเงินมัดจําตู้ให้โจทก์เมื่อโจทก์นําใบมัดจําตู้มาแสดงขอรับเงินมัดจํา คืนหลังจากจําเลยหักค่าซ่อมแซมตู้ที่เสียหายแล้ว โดยโจทก์จะต้องติดต่อขอรับเงินมัดจําคืนภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ระบุในใบมัดจําตู้ หากเกินกําหนดจําเลยไม่ต้องคืนให้ โจทก์จึงมีหน้าที่นําต้นฉบับใบมัดจําไป ติดต่อขอรับเงินมัดจําคืนที่สํานักงานใหญ่ของจําเลยภายใน ๓ เดือน แต่โจทก์มิได้มาขอรับคืนจนเกิน กําหนดเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินมัดจําตู้สินค้าคืนพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

         ในวันนัดพิจารณา ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่า กรณีมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอํานาจพิจารณา พิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว แล้วเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๙

         พิเคราะห์แล้ว กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ และนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามบทบัญญัติ มาตรา ๗ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา
และการค้าระหว่าง ประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องบังคับจําเลยในฐานะตัวแทนการขนส่งสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศให้คืนเงินค่ามัดจําตู้สินค้าที่โจทก์วางไว้ขณะนําสินค้าออกจากท่าเรือแหลมฉบังขนส่งต่อไปยังโรงงาน
ของโจทก์รวม 10 ครั้ง ส่วนจำเลยให้การต่อสู้ว่า เงื่อนไขข้อตกลงในใบตราส่งซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนส่งสินค้าทางทะเลระบุว่าโจทก์ต้องนําใบมัดจําตู้สินค้ามาแสดงและขอรับเงินมัดจําคืนหลังจากจําเลยหักค่าซ่อมแซมตู้สินค้าภายในกําหนด ๓ เดือน นับแต่วันที่ระบุในใบมัดจําตู้ แต่โจทก์ไม่ดําเนินการ จนล่วงพ้นกําหนดเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่ามัดจําตู้สินค้าพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง ดังนี้ ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาขนส่งระหว่างประเทศ คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศตามบทบัญญัติ มาตรา ๗ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙

 

วินิจฉัย ณ วัน 8 เดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

 

เมทินี ชโลธร

(นางเมทินี ชโลธร)

ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ