คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 996/2563

บริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) โจทก์

กรมทรัพย์สินทางปัญญา               จำเลย

นายประเสริฐ  ธรรมมนุญกุล      จำเลยร่วม

 

พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 57 (2)

        แม้สิทธิบัตรสาธารณรัฐประชาชนจีน เลขที่ ZL 2008 2 0073603. 4 ZL 2008
2 0074689. 2 และ ZL 2007 1 0057000. 5
เป็นอนุสิทธิบัตร (Certificate of Utility Model Patent) และสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Certificate of Invention Patent) แต่เมื่อมี
การเผยแพร่และลงภาพของผลิตภัณฑ์ในเอกสารสิทธิบัตรหรือสิ่งพิมพ์แล้ว ย่อมต้องถือว่าได้มี
การเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ (๒) แล้ว กรณีจึงต้องนำมาพิจารณาประกอบว่า ภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดนั้นเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วหรือไม่ด้วย

        แบบผลิตภัณฑ์มุ่งประสงค์ต่อรูปทรงหรือรูปร่างของวัตถุอันมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะ
ที่เกี่ยวข้องกับการประดับตกแต่ง (
Ornamental) หรือความสวยงาม (Aesthetic) เป็นสำคัญ
การที่โจทก์อุทธรณ์โดยยกเรื่องการใช้งานหรือการทำหน้าที่ (Functionality) ของผลิตภัณฑ์
มาเปรียบเทียบ จึงแตกต่างไปจากหลักการของการคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่พิจารณาความคล้ายกัน (Similarity) ของงานที่ปรากฏอยู่แล้ว (Prior Art) ของแบบผลิตภัณฑ์
ในสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏจากความรู้สึกโดยรวม (Substantial in Overall Impression) ของแบบผลิตภัณฑ์ที่เห็นทั้งหมด (Whole Appearance) ซึ่งเมื่อพิจารณาถึง
การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมเปรียบเทียบกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว เห็นได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมมีเอกลักษณ์ (Individual Character) หรือมีลักษณะพิเศษ (Distinctiveness)
ที่แตกต่างออกไป ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเข้าเสาเข็มเหล็กจากสาธารณรัฐประชาชนจีนตามสิทธิบัตรที่โจทก์กล่าวอ้างมาใช้แพร่หลายในราชอาณาจักรไทย หรือสิทธิบัตรดังกล่าวได้มีการยื่นคำขอและประกาศโฆษณาก่อนที่จำเลยร่วมจะได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จำนวน ๙ ฉบับ ข้างต้นก็ตาม กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่ามีแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วม
ใช้แพร่หลาย หรือมีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่
อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้น สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมจึงมีความใหม่และมีลักษณะพิเศษอันเข้าหลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ แล้ว

        แม้รูปร่างของผลิตภัณฑ์จะมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ใช้สอย (Functionality) ด้วย แต่รูปร่างโดยรวม (Overall Appearance) ของแบบผลิตภัณฑ์ก็ไม่ใช่เป็นการออกแบบ
เพื่อประโยชน์ของการใช้สอยนั้นเพียงอย่างเดียวทั้งหมด การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วม
จึงสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่ย่อมถูกจำกัดอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง





ของผลิตภัณฑ์เท่านั้น มิได้คุ้มครองถึงการออกแบบที่ถูกบังคับให้ต้องเป็นไปตามประโยชน์ของ
การใช้งานหรือการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้น (Dictated Solely by Function)

______________________________

         โจทก์ฟ้อง ขอให้พิพากษาว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของนายประเสริฐจำนวน ๙ ฉบับ

ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ ๔๘๙๑๘, ๔๘๑๘๒, ๔๘๑๘๓, ๔๘๙๑๙, ๔๙๖๕๑, ๔๙๖๕๒, ๔๙๖๔๗, ๔๙๖๔๖ และ ๔๙๖๔๙ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว
ที่จำเลยรับจดทะเบียนไว้ หากจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

         จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

         ระหว่างพิจารณา นายประเสริฐ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม

         ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาต

         จำเลยร่วมให้การ ขอให้ยกฟ้อง

         ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

         โจทก์อุทธรณ์

         ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2555 และวันที่ 10 มกราคม 2556 จำเลยร่วมยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “อุปกรณ์ยึด” เจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีผู้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศและต่างประเทศตามคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ได้ตรวจสอบกับคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมครบ 90 วัน แล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน ผลการตรวจสอบพบว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและเครือรัฐออสเตรเลีย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ของจำเลยร่วมแล้วมีความแตกต่างกัน แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมจึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยจึงออกสิทธิบัตรทั้ง
๙ ฉบับ ให้แก่จำเลยร่วม ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ ๔๘๙๑๘, ๔๘๑๘๒, ๔๘๑๘๓, ๔๘๙๑๙, ๔๙๖๕๑, ๔๙๖๕๒, ๔๙๖๔๗, ๔๙๖๔๖ และ ๔๙๖๔๙ ส่วนโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน โจทก์ได้นำเข้าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น เสาเข็มเหล็กสำหรับยึดโครงสร้างต่าง ๆ จากชิงเต๋า สาธารณรัฐประชาชนจีน เสาเข็มเหล็กดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามสิทธิบัตร เลขที่ ZL 2008 2 0073603. 4 ZL 2007 3 0103999. 3
ZL 2008 2 0074689. 2 และ ZL 2007 1 0057000. 5 โดยชิงเต๋าได้รับโอนสิทธิบัตรดังกล่าวมาจากนายหม่า ผู้ทรงสิทธิบัตร

         คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ในประการแรกว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมมีหรือใช้แพร่หลาย หรือมีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรหรือไม่ เห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นการใช้สินค้าโดยโจทก์เท่านั้น ไม่มีข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่ามีการใช้แพร่หลายแบบผลิตภัณฑ์
ของจำเลยร่วมในประเทศแต่อย่างใด ส่วนที่นายวันชัยเบิกความตอบทนายโจทก์ว่า พยานเคยเข้าไปดูเว็บไซต์ของจำเลยร่วม พบการโฆษณาสินค้าและมีการโฆษณาสินค้าในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ของจำเลยร่วมที่เป็นผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ด้วย นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่ามีการโฆษณาเผยแพร่สินค้าของจำเลยร่วมมาตั้งแต่เมื่อใด ก่อนที่จำเลยร่วมยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือไม่ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จากบันทึกถ้อยคำของจำเลยร่วมยืนยันว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑
ได้มีการติดตั้งเผยแพร่เสาเข็มเหล็กในงานต่าง ๆ มีการออกแสดงสินค้า ทดลองใช้แบบผลิตภัณฑ์
โดยจำเลยร่วมได้เผยแพร่และใช้งานจริงในราชอาณาจักรไทยก่อนจะได้รับอนุญาตให้จดสิทธิบัตร
การออกแบบผลิตภัณฑ์ จำเลยร่วมตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า ในปี ๒๕๕๔ จำเลยร่วม
เปิดนิทรรศการและนำแสดงผลงานเสาเข็มเหล็กจนได้รับการยอมรับและได้รับการว่าจ้างจากการไฟฟ้าให้ทำการก่อสร้างงาน มีการนำไปแสดงในงานบีโอไอแฟร์ ๒๐๑๑ งานติดตั้งตามภาพถ่าย หมาย ล.๓ ก่อนปี ๒๕๕๔ ได้มีการติดตั้งสินค้าหลายที่ เช่น ที่จอดรถหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ของกองทัพเรือ และจำเลยร่วมให้ถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เสาเข็มเหล็กตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมได้มีการลงในหนังสือ เผยแพร่ในวารสาร มีการโฆษณาเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก
และเว็บไซต์ ลงภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ ซึ่งนายอนนท์ พยานจำเลยร่วม ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงสอดคล้องกัน แสดงถึงการมี
หรือใช้แพร่หลาย และมีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งเก้าฉบับนั้น
เมื่อพิจารณาบันทึกถ้อยคำของจำเลยร่วมแล้ว ก็ได้ความเพียงว่า เดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ จำเลยร่วม
มีแนวคิดทำฐานรากสำเร็จรูปแบบเสาเข็มเหล็ก จึงวางแผน ศึกษาหาข้อมูล ทดลองพัฒนา
เสาเข็มเหล็กในรูปแบบต่าง ๆ และออกประชาสัมพันธ์แนวคิดตามงานนิทรรศการต่าง ๆ จนกระทั่ง
ได้ตัวอย่างเสาเข็มเหล็กรุ่นแรก ๆ ออกมาทดลองและใช้งาน โดยมีการเปิดตัวเสาเข็มเหล็กอย่าง
เป็นทางการในงานต่าง ๆ ต่อมาในปี ๒๕๕๕ เสาเข็มเหล็กได้รับการพัฒนาก้าวหน้าอย่างเต็มรูปแบบ
จึงมีการติดตั้งในงานใหญ่ ๆ หลายงาน มีการออกแสดงสินค้าและหนังสือต่าง ๆ จนกระทั่งมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ตามที่ปรากฏในสื่อออนไลน์
ของจำเลยร่วมว่า ในปี ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นปีแรก ๆ เสาเข็มเหล็กดังกล่าวไม่ได้มีแบบผลิตภัณฑ์ตรงกับ
แบบผลิตที่ปรากฏในสิทธิบัตรทั้ง ๙ ฉบับ แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยร่วมจึงเป็นเพียงการพัฒนาเสาเข็มเหล็กตามลำดับ ฟังไม่ได้ว่า ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมถูกนำออกใช้แพร่หลาย หรือมีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียด
ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

         คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ในประการต่อมาว่า มีแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมใช้แพร่หลายในราชอาณาจักร และมีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ
หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ ในปัญหานี้ กรณีต้องวินิจฉัยก่อนว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีน เลขที่ ZL 2008 2 0073603. 4 ZL ๒007 3 0103999. 3
ZL 2008 2 0074689. 2 และ ZL 2007 1 0057000. 5 คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ตาม
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วม เลขที่ ๔๘๙๑๘, ๔๘๑๘๒, ๔๘๑๘๓, ๔๘๙๑๙,
๔๙๖๕๑, ๔๙๖๕๒, ๔๙๖๔๗, ๔๙๖๔๖ และ ๔๙๖๔๙ จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ
ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ (๔) หรือไม่ ซึ่งในข้อนี้ ถึงแม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่า สิทธิบัตรสาธารณรัฐประชาชนจีน เลขที่ ZL 2008 2 0073603. 4 ZL 2008 2 0074689. 2
และ ZL 2007 1 0057000. 5 เป็นอนุสิทธิบัตร (Certificate of Utility Model Patent)
และสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Certificate of Invention Patent) ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า
มีการเผยแพร่และลงภาพของผลิตภัณฑ์ในเอกสารสิทธิบัตรหรือสิ่งพิมพ์แล้ว ย่อมต้องถือว่าได้มี
การเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์
ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ (๒) แล้ว กรณีจึงต้องนำมาพิจารณาประกอบว่า ภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดนั้นเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วหรือไม่ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาภาพเสาเข็มเหล็กยึดโครงสร้างตามสิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีนเปรียบเทียบกับภาพแบบผลิตภัณฑ์
ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมทั้งเก้าฉบับ ได้แก่

 

 

 

 

 

ZL 200820073603.4   ZL 200730103999.3   ZL 200820074689.2  ZL 00710057000.5

 

 

 

           ๔๘๙๑๘                     ๔๘๑๘๒                      ๔๘๑๘๓                     ๔๘๙๑๙

 

 

 

 

 

        ๔๙๖๕๑            ๔๙๖๕๒            ๔๙๖๔๗                ๔๙๖๔๖               ๔๙๖๔๙

         ดังนี้ เห็นได้ว่า เสาเข็มเหล็กยึดโครงสร้างตามสิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีนทั้งสี่ฉบับนั้น มีรูปร่างที่แตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมทั้งเก้าฉบับอย่างชัดเจน โดยการเปรียบเทียบงานที่ปรากฏตามสิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีนกับแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมนั้นต้องเปรียบเทียบชิ้นต่อชิ้น ไม่ใช่นำแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมไปเปรียบเทียบกับงานที่ปรากฏอยู่แล้วหลายชิ้นรวมกัน (Mosaicing) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นปลายเสาเข็มเหล็กที่มีสัดส่วนและมุมแหลมที่แตกต่างกัน เกลียวของเสาเข็มเหล็กที่มีขนาดและความยาวแตกต่างกัน ลำต้นของเสาเข็มเหล็กมีลักษณะที่แตกต่างกัน และโดยเฉพาะหัวเสาเข็มเหล็กที่มี
การออกแบบแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบไป ซึ่งแม้จะมีข้อสังเกตพิเศษว่า สิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีน เลขที่ ZL 2008 2 007๓๖๐๓.4 กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมเลขที่ ๔๘๙๑๘ จะมีลักษณะใกล้เคียงกันดังที่ปรากฏตามภาพด้านล่าง

 

 

 

 

 

 

                            ZL 200820074940.4                ๔๘๙๑๘

         อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วย่อมเห็นความแตกต่างของลักษณะส่วนของ
ปลายเสาเข็มเหล็กและความยาวของเกลียว และพิจารณาที่หัวเสาเข็มเหล็กตามรายละเอียด
ของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ ๔๘๙๑๘ เพิ่มเติม จะมีภาพระบุถึงการออกแบบ
ส่วนนี้ไว้ด้วย ดังนี้

 

 

 

                                 ๔๘๙๑๘ ภาพด้านบน         ๔๘๙๑๘ ภาพด้านล่าง

         ภาพทั้งหมดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงรูปร่างและลักษณะของรูบนหัวเสาเข็มเหล็ก ในขณะที่สิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีน เลขที่ ZL 2008 2 007๓๖๐๓. 4 นั้นไม่ได้มีการเปิดเผย
ส่วนหัวเสาเข็มเหล็กว่ามีลักษณะอย่างใด ทำให้เห็นถึงความแตกต่างของรูปร่างโดยรวม (Overall Appearance) ระหว่างเสาเข็มเหล็กทั้งสองแบบ ทั้งนี้ การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น หมายความถึง รูปร่างของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓ แบบผลิตภัณฑ์จึงมุ่งประสงค์ต่อรูปทรงหรือรูปร่างของวัตถุอันมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประดับตกแต่ง (Ornamental) หรือความสวยงาม (Aesthetic) เป็นสำคัญ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แบบผลิตภัณฑ์
มีความคล้ายกันของหัวสว่านที่มีเกลียวปลายแหลมสำหรับเจาะยึดพื้นผิว ส่วนปลายอีกด้านทำไว้ยึดเข้ากับอุปกรณ์ติดตั้ง ใช้สำหรับงานติดตั้งโครงสร้างทั่วไปในการก่อสร้างนั้น เป็นการยกเรื่องการใช้งาน
หรือการทำหน้าที่ (Functionality) ของผลิตภัณฑ์มาเปรียบเทียบ ซึ่งแตกต่างไปจากหลักการ
ของการคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่พิจารณาความคล้ายกัน (Similarity) ของงานที่ปรากฏ
อยู่แล้ว (Prior Art) ของแบบผลิตภัณฑ์ในสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏจากความรู้สึกโดยรวม (Substantial in Overall Impression) ของแบบผลิตภัณฑ์ที่เห็นทั้งหมด (Whole Appearance)
ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมดังที่ได้พิจารณามาข้างต้นกับผลิตภัณฑ์
ตามสิทธิบัตรของสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว เห็นได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมมีเอกลักษณ์ (Individual Character) หรือมีลักษณะพิเศษ (Distinctiveness) ที่แตกต่างออกไป ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเข้าเสาเข็มเหล็กจากสาธารณรัฐประชาชนจีนตามสิทธิบัตร
ที่โจทก์กล่าวอ้างมาใช้แพร่หลายในราชอาณาจักรไทย หรือสิทธิบัตรดังกล่าวได้มีการยื่นคำขอ
และประกาศโฆษณาก่อนที่จำเลยร่วมจะได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จำนวน ๙ ฉบับ ข้างต้นก็ตาม กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่ามีแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมใช้แพร่เผย
หรือมีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่า
ในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้น สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วม เลขที่ ๔๘๙๑๘, ๔๘๑๘๒, ๔๘๑๘๓, ๔๘๙๑๙, ๔๙๖๕๑, ๔๙๖๕๒, ๔๙๖๔๗, ๔๙๖๔๖ และ ๔๙๖๔๙ จึงมีความใหม่และมีลักษณะพิเศษอันเข้าหลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

         คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ในประการสุดท้ายว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมมีลักษณะเป็นการออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย ซึ่งเป็นเรื่องของการประดิษฐ์ ไม่ใช่เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓
ให้ความหมายของแบบผลิตภัณฑ์ว่า หมายถึงรูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย
หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ ดังนั้น การออกแบบใดที่ทำให้เกิดรูปร่างอันมีลักษณะพิเศษ (Distinctiveness) ย่อมสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ในกรณีของแบบผลิตภัณฑ์
ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมทั้งเก้าฉบับนั้น เห็นได้ว่าเป็นการออกแบบรูปร่างของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างไปจากอุปกรณ์ยึดฐานทั่วไปจากงานที่มีปรากฏอยู่ก่อนดังที่จำเลยนำสืบถึงแบบผลิตภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ยึดฐานรากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการออกแบบ
ของจำเลยร่วมได้แสดงลักษณะเกี่ยวกับความสวยงาม (Aesthetic) ได้ในระดับหนึ่ง แม้รูปร่าง
ของผลิตภัณฑ์จะมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ใช้สอย (Functionality) ด้วย แต่รูปร่างโดยรวม (Overall Appearance) ของแบบผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ใช่เป็นการออกแบบเพื่อประโยชน์ของการใช้สอยนั้นเพียงอย่างเดียวทั้งหมด การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมจึงสามารถได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย แต่ย่อมถูกจำกัดอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างของผลิตภัณฑ์เท่านั้น มิได้คุ้มครอง
ถึงการออกแบบที่ถูกบังคับให้ต้องเป็นไปตามประโยชน์ของการใช้งานหรือการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้น (Dictated Solely by Function) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

         พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ.

(จักรกฤษณ์ เจนเจษฎา – พัฒนไชย ยอดพยุง – จุมพล ภิญโญสินวัฒน์)

 

สุธรรม สุธัมนาถพงษ์ - ย่อ

นิภา  ชัยเจริญ - ตรวจ

 

หมายเหตุ   คดีถึงที่สุด