คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2568                                บริษัท ข.                                โจทก์

                                                           นาง น.                                 ผู้ร้อง

                                                                      เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์        ผู้คัดค้าน

                            บริษัท ท.                          จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 575, 583

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5, 119

พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 106 วรรคสอง (1)

พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530

พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533

ป.รัษฎากร

 

         ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 นั้น บัญญัติให้สินจ้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน ผู้มีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างคือนายจ้าง เมื่อบริษัท อ. เป็นผู้จ่ายเงินเดือนซึ่งเป็นสินจ้างให้แก่ผู้ร้อง รวมถึงหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักสมทบประกันสังคม หักภาษีซึ่งเป็นเงินที่เกี่ยวข้องในฐานะที่ผู้ร้องเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. หาใช่จำเลย ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าบริษัท อ. แจ้งเปลี่ยนสถานภาพพนักงานโอนย้ายผู้ร้องไปเป็นพนักงานของจำเลย และจำเลยทำสัญญาจ้างผู้ร้องในทำนองผู้ร้องเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้น คงมีเพียงเอกสารที่ระบุว่านาย ส. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยเพียงคนเดียวที่ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาผู้ว่าจ้าง ซึ่งไม่ถูกต้องตามหนังสือรับรองเพราะต้องมีกรรมการอย่างน้อยสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลย นอกจากใบเปลี่ยนสถานภาพพนักงานโอนย้ายผู้ร้องไปเป็นพนักงาน
ของจำเลยกับสัญญาจ้างพนักงานประจำแล้ว จำเลยก็หาได้ดำเนินการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องเป็นพนักงานของจำเลย และเพราะเหตุใดผู้ร้องถึงได้รับเงินเดือนจากบริษัท อ. การจัดทำเอกสารดังกล่าวน่าจะเป็นการบริหารงานภายในบริษัท อ. และจำเลย ด้วยเหตุที่จำเลยเป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. เท่านั้น ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลย และไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างนับตั้งแต่วันที่
1 กันยายน 2563 จนถึงวันที่ 21 กันยายน 2563 เป็นเวลา 21 วัน จำนวน 45
,500 บาท
จากจำเลย  

(เผด็จ ชมพานิชย์ - วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์ - ธีระพล ศรีอุดมขจร)

ธันยภรณ์ เทพทอง – ย่อ

   สุทจิ์ธิฎา สุทธิพงศ์คณาสัย – ตรวจ

(คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 999/2568)