คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2378 - 2464/2565  นายณัฎฐิพงศ์ โบช่วย

                                                                                  กับพวก                           โจทก์

                                                                                  บริษัทธาราป่าตอง จำกัด      จำเลย

 

ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑

 

         ตามเอกสารหมาย ล.1 ที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยนั้น  มีข้อความในย่อหน้าที่สาม ระบุว่า “ในการนี้โดย “นายจ้าง” ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้ นาย/นาง/นางสาว...N/A...เป็นจำนวน...N/A...บาท และนาย/นาง/นางสาว...N/A... ได้รับเงินช่วยเหลือ
จาก “นายจ้าง” ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ หรือสิทธิจาก “นายจ้าง”
ไปมากกว่านี้ และไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับ “นายจ้าง” ไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา” การที่มีการระบุเพียง...N/A… ในช่องว่าง  โดยมิได้ระบุชื่อผู้รับเงินช่วยเหลือ จำนวนเงินที่จ่ายช่วยเหลือ และชื่อผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ ประกอบกับคำว่า N/A ย่อมาจาก Not Applicable ซึ่งมีความหมายว่า นำมาใช้ไม่ได้หรือไม่บังคับใช้ หรือ Not Available ซึ่งมีความหมายว่า ไม่มีอยู่หรือไม่ปรากฏ แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้ที่ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวว่าไม่ประสงค์ที่จะผูกพันตามความในย่อหน้านี้ เนื่องจาก
ไม่ปรากฏทั้งชื่อบุคคลที่รับเงินช่วยเหลือ จำนวนเงินที่จ่ายช่วยเหลือ รวมทั้งชื่อบุคคลที่ได้รับเงินช่วยเหลือครบถ้วนที่ไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ และไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับนายจ้างซึ่งคือจำเลยในคดีนี้  อีกทั้งศาลแรงงานภาค ๘ ฟังข้อเท็จจริงส่วนนี้ว่า มิได้มีการกรอกข้อความเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลย
ในฐานะนายจ้างตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด และจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด การตีความข้อความในเอกสารควรพิจารณาจากข้อความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  มิใช่อ้างอิงแต่เพียงบางส่วนของข้อความ ดังนั้น จึงไม่อาจตีความข้อความในส่วนดังกล่าวได้ว่า
โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยและไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้อีกดังที่จำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์

 

______________________________

 

         โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดสำนวนฟ้องและโจทก์ที่ ๓๑ กับที่ ๕๑ แก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลย
จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
พร้อมดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละราย

         จำเลยทุกสำนวนให้การในส่วนของโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และที่ ๒๑ ถึงที่ ๘๗ ขอให้ยกฟ้อง

         ศาลแรงงานภาค ๘ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นค่าชดเชย ๓๗,๕๐๐ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๒,๕๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 เป็นค่าชดเชย ๒๖๑,๕๓๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๖,๑๕๓ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 3 เป็นค่าชดเชย ๓๘,๙๒๕ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๒,๙๗๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 4 เป็นค่าชดเชย ๑๔๓,๐๗๒ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๗,๘๘๔ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 5 เป็นค่าชดเชย ๑๔๐,๒๕๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,๐๒๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 6 เป็นค่าชดเชย ๒๖๐,๕๐๖ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๙,๕๓๘ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 7 เป็นค่าชดเชย ๒๓๑,๘๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๗,๓๘๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 8 เป็นค่าชดเชย ๑๓๓,๕๔๔ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,๑๙๓ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 9 เป็นค่าชดเชย ๑๒๑,๔๔๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๕,๑๘๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 10 เป็นค่าชดเชย ๕๔,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๘,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑1 เป็นค่าชดเชย ๙๖๔,๕๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๙๖,๔๕๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑2 เป็นค่าชดเชย ๒๒,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๒,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑3 เป็นค่าชดเชย ๔๓,๖๕๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,๕๕๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑4 เป็นค่าชดเชย ๒๒๓,๒๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๒,๓๒๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑5 เป็นค่าชดเชย ๔๐,๕๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓,๕๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑6 เป็นค่าชดเชย ๔๓๙,๕๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๔๓,๙๕๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑7 เป็นค่าชดเชย ๑๒๐,๕๓๔ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๐,๐๘๙ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑8 เป็นค่าชดเชย ๒๕๗,๓๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๕,๗๓๓ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑9 เป็นค่าชดเชย ๑๕๒,๘๕๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๕,๒๘๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 20 เป็นค่าชดเชย ๑๐๘,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓,๕๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒1 เป็นค่าชดเชย ๔๕,๒๒๕ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๕,๐๗๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒2 เป็นค่าชดเชย ๘๑,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓,๕๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒3 เป็นค่าชดเชย ๑๘๐,๑๕๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๘,๐๑๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒4 เป็นค่าชดเชย ๘๔,๑๕๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,๐๒๕ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 25 เป็นค่าชดเชย ๘๑,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓,๕๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒6 เป็นค่าชดเชย ๔๑,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๔๑,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒7 เป็นค่าชดเชย ๑๔๓,๖๘๘ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๓,๙๔๙ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒8 เป็นค่าชดเชย ๑๔๘,๓๒๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๘,๕๔๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๒9 เป็นค่าชดเชย ๑๐๘,๐๐๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓,๕๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 30 เป็นค่าชดเชย ๘๘,๕๖๐ บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,๗๖๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓1 เป็นค่าชดเชย 234,230 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 23,423 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓2 เป็นค่าชดเชย 175,200 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 21,900 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓3 เป็นค่าชดเชย 140,780 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,078 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓4 เป็นค่าชดเชย 108,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑3,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓5 เป็นค่าชดเชย 147,480 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑8,435 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓6 เป็นค่าชดเชย 140,538 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 23,423 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓7 เป็นค่าชดเชย 150,300 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 25,050 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓8 เป็นค่าชดเชย 38,925 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 12,975 บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๓9 เป็นค่าชดเชย ๘1,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑3,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 40 เป็นค่าชดเชย 43,500 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๔,50๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ 41 เป็นค่าชดเชย ๘1,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑3,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 42 เป็นค่าชดเชย 1๘8,100 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 31,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 43 เป็นค่าชดเชย 235,867 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑7,690 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 44 เป็นค่าชดเชย 42,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑4,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 45 เป็นค่าชดเชย 145,760 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑8,220 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 46 เป็นค่าชดเชย 137,070 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 22,845 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 47 เป็นค่าชดเชย 42,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑4,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 48 เป็นค่าชดเชย 129,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑6,125 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 49 เป็นค่าชดเชย ๘1,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑3,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 50 เป็นค่าชดเชย 137,070 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 22,845 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 51 เป็นค่าชดเชย 94,074 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 15,679 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 52 เป็นค่าชดเชย 37,350 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 12,450 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 53 เป็นค่าชดเชย 40,500 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 54 เป็นค่าชดเชย 121,024 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 15,128 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 55 เป็นค่าชดเชย 108,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 56 เป็นค่าชดเชย 46,499 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 15,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 57 เป็นค่าชดเชย 100,686 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 16,781บาท ให้แก่โจทก์ที่ 58 เป็นค่าชดเชย 134,464 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 16,808 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 59 เป็นค่าชดเชย 108,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 60 เป็นค่าชดเชย 146,030 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 14,603 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 61 เป็นค่าชดเชย 185,500 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 18,509 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 62 เป็นค่าชดเชย 196,950 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 19,695 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 63 เป็นค่าชดเชย 38,925 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 12,975 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 64 เป็นค่าชดเชย 251,680 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 18,876 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 65 เป็นค่าชดเชย 115,144 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 14,393 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 66 เป็นค่าชดเชย 48,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 16,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 67 เป็นค่าชดเชย 81,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 68 เป็นค่าชดเชย 125,100 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 20,850 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 69 เป็นค่าชดเชย 113,632 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 14,204 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 70 เป็นค่าชดเชย 121,024 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 15,128 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 71 เป็นค่าชดเชย 268,200 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 20,115 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 72 เป็นค่าชดเชย 39,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 73 เป็นค่าชดเชย 155,040 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 19,380 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 74 เป็นค่าชดเชย 38,925 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 12,975 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 75 เป็นค่าชดเชย 81,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 76 เป็นค่าชดเชย 221,440 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 16,608 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 77 เป็นค่าชดเชย 241,600 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 18,120 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 78 เป็นค่าชดเชย 106,200 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 17,700 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 79 เป็นค่าชดเชย 37,500 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 12,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 80 เป็นค่าชดเชย 383,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 28,725 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 81 เป็นค่าชดเชย 48,000 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 16,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 82 เป็นค่าชดเชย 147,080 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 14,708 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 83 เป็นค่าชดเชย 172,680 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 21,585 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 84 เป็นค่าชดเชย 37,500 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 12,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 85 เป็นค่าชดเชย 40,500 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 13,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 86 เป็นค่าชดเชย 84,150 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 14,025 บาท และให้แก่โจทก์ที่ 87 เป็นค่าชดเชย 173,330 บาท สินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 17,333 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี สำหรับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 49 ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2564 และสำหรับโจทก์ที่ 50 ถึงที่ 87 ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

         จำเลยอุทธรณ์

         ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค ๘ รับฟังข้อเท็จจริงฟังว่า
จำเลยประกอบกิจการโรงแรม โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดเป็นลูกจ้างจำเลย วันเริ่มต้นการจ้าง ตำแหน่ง
และค่าจ้างอัตราสุดท้ายปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละรายและใบแจ้งเงินได้ แล้ววินิจฉัยว่า เมื่อวันที่
3 กรกฎาคม 2563 จำเลยแจ้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า หลังจากนั้น
โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดไม่ได้เข้าไปทำงานที่โรงแรมจำเลยและจำเลยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด ระหว่างการทำงานโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดไม่ได้ประพฤติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและมิได้กระทำความผิดทางอาญา ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เข้ากรณียกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา 119 ส่วนบันทึกข้อตกลงเลิกจ้างที่มีข้อความระบุว่าโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ ต่อกันนั้น เอกสารดังกล่าวมิได้มีการกรอกข้อความเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลย
ในฐานะนายจ้างตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ
ให้โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา 118 ประกอบกับจำเลยมิได้หักล้างในส่วนระยะเวลาการทำงาน
และอัตราค่าชดเชย จึงกำหนดค่าชดเชยให้โจทก์แต่ละรายตามคำฟ้อง พร้อมกำหนดดอกเบี้ยให้นับตั้งแต่
วันฟ้องตามที่โจทก์แต่ละรายมีคำขอ และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องตามที่โจทก์แต่ละรายมีคำขอ จำเลยประกอบกิจการโรงแรมที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งได้รับผลกระทบ
ทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นเหตุให้รัฐบาลออกมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าออกประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว การเลิกจ้างของจำเลย
จึงมีเหตุผลอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
โดยไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด

         คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดหรือไม่ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.1
ที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยนั้น มีข้อความในย่อหน้าที่สาม ระบุว่า “ในการนี้โดย “นายจ้าง” ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้ นาย/นาง/นางสาว...N/A...เป็นจำนวน...N/A... บาท
และนาย/นาง/นางสาว...N/A... ได้รับเงินช่วยเหลือจาก “นายจ้าง” ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ หรือสิทธิจาก “นายจ้าง” ไปมากกว่านี้ และไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับ “นายจ้าง” ไม่ว่า
ทางแพ่งหรือทางอาญา” การที่มีการระบุเพียง...N/A... ในช่องว่าง โดยมิได้ระบุชื่อผู้รับเงินช่วยเหลือ
จำนวนเงินที่จ่ายช่วยเหลือ และชื่อผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ ประกอบกับคำว่า N/A ย่อมาจาก Not Applicable ซึ่งมีความหมายว่า นำมาใช้ไม่ได้หรือไม่บังคับใช้ หรือ Not Available ซึ่งมีความหมายว่า ไม่มีอยู่
หรือไม่ปรากฏ แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้ที่ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวว่าไม่ประสงค์ที่จะผูกพัน
ตามความในย่อหน้านี้ เนื่องจากไม่ปรากฏทั้งชื่อบุคคลที่รับเงินช่วยเหลือ จำนวนเงินที่จ่ายช่วยเหลือ
รวมทั้งชื่อบุคคลที่ได้รับเงินช่วยเหลือครบถ้วนที่ไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ และไม่ประสงค์ดำเนินคดี
กับนายจ้างซึ่งคือจำเลยในคดีนี้ อีกทั้งศาลแรงงานภาค ๘ ฟังข้อเท็จจริงส่วนนี้ว่า มิได้มีการกรอกข้อความเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยในฐานะนายจ้างตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด และจำเลย
ยังไม่ได้จ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ด การตีความข้อความในเอกสารควรพิจารณาจากข้อความ
ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มิใช่อ้างอิงแต่เพียงบางส่วนของข้อความ ดังนั้น จึงไม่อาจตีความข้อความในส่วนดังกล่าวได้ว่าโจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยและไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้อีกดังที่จำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ ที่ศาลแรงงานภาค ๘ วินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเจ็ดพร้อมดอกเบี้ยนั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
เห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

         พิพากษายืน.

 

(สมเกียรติ  คูวัธนไพศาล – วิไลวรรณ  ชิดเชื้อ – ดณยา  วีรฤทธิ์)

พรรณทิพย์ วัฒนกิจการ - ย่อ

สุโรจน์  จันทรพิทักษ์ - ตรวจ