คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2567                 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด     โจทก์                                                                                                                  บริษัท ห.                             โจทก์ร่วม

                                                                   นาย ถ.                                        จำเลย

 

ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕34 มาตรา 110 (1)

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สิน
ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539
มาตรา 40 วรรคสอง

 

         การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) นั้น ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้
เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า        สำหรับใช้กับสินค้าตะเกียบ จำเลยเป็นเพียงผู้นำเข้าสินค้าตะเกียบจากผู้ผลิตที่สาธารณรัฐประชาชนจีนตามคำสั่ง
ของนาย ว. ที่ให้ผู้ผลิตออกแบบหีบห่อสินค้าตามภาพถ่ายที่นาย ว. ส่งให้ โดยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะได้รับการจดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อบุคคลทั่วไปยังไม่อาจทราบได้ว่าสินค้าตะเกียบที่ยึดได้จากโกดัง
ของจำเลยเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม เช่นนี้ย่อมเป็นไปได้ว่า จำเลยซึ่งได้รับแต่เพียงภาพถ่ายหีบห่อสินค้าจากนาย ว. ไม่ทราบว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นของโจทก์ร่วม จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและวิธี
พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นฟ้องด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

(อภิชาต ภมรบุตร – มัณทรี อุชชิน – สถาพร วงศ์ตระกูลรักษา)

                                                                                  เสาวลักษณ์ ฉริยะพงศ์พันธุ์ – ย่อ

                                                                                สุทจิ์ธิฎา สุทธิพงศ์คณาสัย – ตรวจ

                                                    (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 31/2566)