คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ วทป 7/2560  

                                             นางมันทนา ศันสนียชีวิน                                       โจทก์       

                                             นายนันท์มนัส ตฤณ กับพวก                                    จำเลย

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สิน
ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา 7 (3), 9

         สภาพแห่งข้อหาตามคําฟ้องเป็นกรณีโจทก์ผู้ประกอบกิจการค้าขายยาเส้น ยาฉุน และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนรูปวัวสองตัวหันหน้าเข้าหากัน และคําว่า “ยี่ห้อกี่เส็ง”
“ตราวัวชนกัน” ใช้กับสินค้าจําพวกยาฉุน กล่าวอ้างว่าจําเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยการพิมพ์ลงบนกล่องกระดาษบรรจุสินค้าใส่ยาเส้น ยาฉุน ลวงขายจําหน่าย และเสนอจําหน่ายสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงและขาดรายได้ ซึ่งจําเลยทั้งสองต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว
ให้แก่โจทก์ อันเป็นการตั้งฐานแห่งสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดเครื่องหมายการค้าที่สืบเนื่องมาจาก
การกระทําของจําเลยทั้งสอง จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า โจทก์ขาดต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทและเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนกับที่ใช้ประกอบการค้าขายเป็นคนละแบบคนละเครื่องหมายกัน จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า
และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินจริง ทําให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยถึงสิทธิ
ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ และโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพียงใด จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษา
ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามบทบัญญัติ มาตรา ๗ (๓)
แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙

_____________________________

         โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ทะเบียนเลขที่ ๑ ๓๐๙๑๐๖ คําขอเลขที่ ๖๔๑๙๗๐ จําพวก ๑๖ สําหรับสินค้า กล่องทําด้วยกระดาษหรือกระดาษแข็ง และทะเบียนเลขที่
ค ๓๐๙๑๐๘ คําขอเลขที่ ๖๔๑๙๗๒ จําพวก ๓๔ สําหรับสินค้า ยาฉุน โดยประกอบกิจการค้าขาย ยาเส้น
ยาฉุน ใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวสองตัวหันหน้าเข้าหากัน เมื่อระหว่างวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๘ ถึงวันที่
8 ตุลาคม ๒๕๕๘ จําเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ด้วยการพิมพ์รูปเครื่องหมายการค้าลงบนซองพลาสติกบรรจุยาเส้น และพิมพ์ลงบนกล่องทําด้วยกระดาษบรรจุสินค้าใช้ใส่ยาเส้น ยาฉุน ซึ่งเป็นสินค้าจําพวกเดียวกับของโจทก์ ลวงขายให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ และร่วมกันจําหน่ายเสนอจําหน่ายแก่ผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสินค้าที่จําเลยทั้งสองปลอมเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ดังกล่าว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวัวสองตัวหันหน้าเข้าหากัน และคําว่า “ยี่ห้อที่เส็ง” “ตราวัวชนกัน” ใช้กับสินค้าจําพวก ยาฉุน มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี จนทําให้สาธารณชนผู้บริโภครู้จัก
.

 

 

 

 

สินค้าของโจทก์เป็นอย่างดีและมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป การที่จําเลยทั้งสองละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย การค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจําเลยทั้งสองร่วมกันชําระเงิน ๒,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ
แก่โจทก์

         จําเลยทั้งสองให้การว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามฟ้องขาดต่ออายุการจดทะเบียน
โจทก์จึงเป็นเพียงผู้เสียหายในคดีแพ่งละเมิดทั่วไป เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ใช้ประกอบธุรกิจค้าขายเป็นคนละแบบและคนละเครื่องหมายกัน โดยมิได้มีการ
ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่ได้รับการคุ้มครอง คดีไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินความเป็นจริง ขอให้ยกฟ้อง

         ในชั้นชี้สองสถาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่า กรณีมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว แล้วเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
เป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๙

         พิเคราะห์แล้ว กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ตามบทบัญญัติ มาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือไม่ เห็นว่า
สภาพแห่งข้อหาตามคําฟ้องเป็นกรณีโจทก์ผู้ประกอบกิจการค้าขายยาเส้น ยาฉุน และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนรูปวัวสองตัวหันหน้าเข้าหากัน และคําว่า “ยี่ห้อกี่เส็ง” “ตราวัวชนกัน”
ใช้กับสินค้าจําพวก ยาฉุน กล่าวอ้างว่าจําเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยการพิมพ์ลงบนกล่องกระดาษบรรจุสินค้าใส่ยาเส้น ยาฉุน ลวงขายจําหน่าย และเสนอจําหน่ายสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงและขาดรายได้
ซึ่งจําเลยทั้งสองต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันเป็นการตั้งฐานแห่งสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดเครื่องหมายการค้าที่สืบเนื่องมาจากการกระทําของจําเลยทั้งสอง จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า
โจทก์ขาดต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท และเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียน
กับที่ใช้ประกอบการค้าขายเป็นคนละแบบคนละเครื่องหมายกัน จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าและค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องสูงเกินจริง ทําให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย
ถึงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ และโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพียงใด จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สิน
ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามบทบัญญัติ มาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙